บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน2558
Knowledgeการสอนหน้าชั้นเรียน โดยการเขียนกระดาน นิทานเรื่องผลไม้สีเหลือง
ขั้นนำ
ถามความรู้เดินเพื่อกระตุ้นความคิดเด็กโดยใช้หลักคำถาม 5W1H
-ถามความคิดเด็กเห็นว่าอยากแต่งนิทานเรื่องใด>>ครูสรุปชื่อเรื่อง
-ที่ไหนน่าจะมีผลไม้เยอะๆ
-ผลไม้มีสีอะไรบ้าง
-เด็กๆชอบกินผลไม้ชนิดใดกันบ้าง
ขั้นสอน
-ครูต้องพูดคุยและทวนคำพูดเด็กเสมอ เพื่อให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่ออีกทั้งยังทำให้เด็กเกิดความมั่นใจและภมูิใจในคำตอบของตนเองด้วย
-ลายมือที่เขียนควรมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยหัวกลมตัวเหลี่ยม
-อาจหาอาสาสมัครให้เด็กออกมาเขียนคำที่ซ้ำกัน เช่น ให้เด็กเขียนคำว่า "ผลไม้"
ขั้นสรุป
-ครูอ่านเนื้อเรื่องที่แต่งให้ฟัง
-ครูอ่านให้เด็กฟังก่อนและให้เด็กอ่านตาม
-ร่วมกันสรุปเนื้อเรื่องว่า มีใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ครั้งที่1 ทำท่าทางห้ามซ้ำกับเพื่อน
ครั้งที่ 2 ทำท่าทางตามจำนวนพยางค์ชื่อของตนเอง
ครั้งที่ 3 ทำท่าทางตามคนด้านข้างและทำท่าของตนเอง
ลักษณะของกิจกรรมการเคลื่อนไหวมีดังนี้คือ
-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
-การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
-การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
-การทำท่ากายบริหารประกอบเพลง
-การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
-การเคลื่อนไหวตามคำสั่งและข้อตกลง
-การเคลื่อนไหวแสดงท่าทางตามคำบรรยายเรื่องราว เป็นต้น
ประโยชน์ของการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่างๆดีขึ้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ
Apply
การเล่นเกมก่อนการเรียนทำให้มีสมาธิและกระตือรือร้นเพิ่มมากขึ้น
ไม้ชี้จะช่ายให้เด็กได้มองตามสิ่งที่เราสอนได้อย่างง่ายขึ้น ไม้ชี้ที่ดีควรมีลูกสรที่ชัดเจน
ภาษาสร้างสรรค์เป็นการกระตุ้นการใช้ความคิดและจินตนาการของเด็ก ช่วยให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ การใช้เพลงจำหรือคำคล้องจองจะทำให้ง่ายต่อการจดจำของเด็ก
การใช้คำถามเป็นการกระตุ้นความคิดของเด็กทำให้เกิดการเรียนรู้
Teaching methods
-บรรยายตามโปรแกรม Microsoft Power Point
-การลงมีมือปฏิบัติ
-สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
-การร้องเพลง
Assessment
Place : อากาศถ่ายเทสะดวก อุปกรณ์มีความพร้อมในการใช้งาน
Myself : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนไม่ตรงเวลา ให้ความร่ามือในการทำกิจกรรมต่างๆ
Classmate : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
Instructor : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอดแทรกกิจกรรมและจริยธรรมในการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น